การสอนแบบ Scaffolding ตอนที่ ๒

วิธีการสอนแบบ Scaffolding

ครูสามารถนำวิธีการสอนแบบ Scaffolding ไปใช้ได้กับการเรียนหลายรายวิชา  โดยเฉพาะรายวิชาที่เน้นให้นักเรียนมีทักษะในการปฏิบัติ  เช่น การอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษและภาษาไทย การถอดสมการคณิตศาสตร์  หรือทักษะอื่นที่ผู้เรียนรู้สึกว่าเป็นงานยากให้สามารถทำได้สำเร็จ  และผู้เรียนสามารถพัฒนาความสามารถของตนได้ในระดับที่สูงขึ้น โดยวิธีการสอนแบบ Scaffolding นั้น ไม่ได้กำหนดตายตัวว่าครูผู้สอนจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการสอนกี่ขั้นตอน  ครูเพียงแต่ยึดหลักการพื้นฐานในการสอนแบบ Scaffolding คือ การทำให้ดูเป็นตัวอย่างและการแนะนำอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ จากการช่วยเหลือของครู แล้วค่อยๆ ลดความช่วยเหลือลงจนนักเรียนทำงานสำเร็จได้ด้วยตนเอง

การสอนแบบ Scaffolding เปรียบเทียบได้กับการทำงานของคนงานที่ต้องใช้นั่งร้าน (Scaffold) เข้าช่วยเพื่อสร้างตึกใหม่ โดยที่ Continue reading

การสอนแบบ Scaffolding ตอนที่ ๑

แนวคิด ทฤษฎีที่เป็นที่มาของการสอนแบบ Scaffolding

Lev_Vygotskyการสอนแบบ Scaffolding มีที่มาจากทฤษฎีวัฒนธรรมทางสังคมของวีกอตสกี้  (Vygotsky’s Sociocultural Theory) เชื่อว่า พัฒนาการและการเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคม  ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยให้ความสำคัญกับบทบาทของสังคมต่อการพัฒนาทางปัญญาของผู้เรียน ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และมุมมองทางวัฒนธรรมของผู้เรียนเป็นปัจจัยสำคัญต่อพัฒนาการทางปัญญา (Dixon-Krauss. 1996; Hamilton; & Ghatala. 1994; สุรางค์ โค้วตระกูล. 2541)

การพัฒนาทางปัญญาของมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ 1) เชาวน์ปัญญาขั้นต้น (Elementary mental process)  เป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ตามธรรมชาติที่ไม่ต้องเรียนรู้และ Continue reading

การจัดการเรียนรู้แบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตอนที่ ๓

การจัดการเรียนรู้แบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตอนที่ ๓
Creative Problem Solving (CPS)

ทักษะของครูที่ช่วยให้การจัดการเรียนรู้ประสบความสำเร็จ

เพื่อให้การจัดการเรียนรู้ประสบความสำเร็จ แต่ละขั้นตอนของกิจกรรมการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ครูจะต้องฝึกฝน และใช้ทักษะดังนี้

1. เข้าใจกระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

_MG_5002 copyหลักการ การเข้าใจแนวคิด ทฤษฎีการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ จะช่วยให้ครูสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ได้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากกระบวนการในกิจกรรมการเรียนรู้ถูกปรับมาจากขั้นตอนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์จากครูจะถูกถ่ายทอดไปยังนักเรียน

แนวปฏิบัติ ครูศึกษาหลักการ ขั้นตอนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ในคู่มือ จากนั้นจึงทำแบบฝึกในภาคผนวกที่ 1 ซึ่งมีแนวทาง Continue reading

การจัดการเรียนรู้แบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตอนที่ ๒

การจัดการเรียนรู้แบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตอนที่ ๒
Creative Problem Solving (CPS)

การจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

_MG_4776สำหรับคู่มือการจัดการเรียนรู้แบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์นี้ ได้นำแนวคิดการจัดการเรียนรู้เพื่อการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของสิทธิชัย ชมพูพาทย์ (2554) ที่ได้สังเคราะห์แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ จนได้รูปแบบที่สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ โดยมีขั้นตอน หลักการ และแนวปฏิบัติดังนี้ Continue reading

การจัดการเรียนรู้แบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตอนที่ ๑

การจัดการเรียนรู้แบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตอนที่ ๑
Creative Problem Solving (CPS)

ความซับซ้อน และความเป็นพลวัตรของสังคมในปัจจุบันก่อให้เกิดผลที่ตามมาอย่างหลากหลายทั้งด้านบวกและด้านลบ ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ความเจริญทางด้านการแพทย์ ระบบการเมืองการปกครอง รวมถึงความเจริญก้าวหน้าทางด้านอุปโภคบริโภค ทำให้มนุษย์มีคุณภาพชีวิตที่ดี ในขณะเดียวกัน สิ่งที่มาพร้อมกับความเจริญด้านต่างๆนั้นคือ ปัญหา ทั้งระดับนานาชาติจนถึงระดับบุคคล เช่น สิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรม ระบบการเมืองการปกครอง การบริหารและการพัฒนา การคอรัปชั่น อาชญากรรม การทะเลาะวิวาท ความเครียด การตั้งครรภ์ หรือปัญหาการฆ่าตัวตาย

มนุษย์ต้องปรับตัวและแก้ปัญหาเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ ความสามารถและทักษะการแก้ปัญหาจึงเป็นคุณลักษณะหนึ่งของบุคคลที่ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมในปัจจุบัน เพราะสังคมปัจจุบันเป็นสังคมที่ซับซ้อนและก้าวกระโดดนั่นเอง การทำงาน การดำเนินชีวิตย่อมประสบปัญหา ทั้งปัญหาเกี่ยวกับความรู้สึก และ Continue reading

การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) ตอนที่ ๒

บทบาทของครูในฐานะผู้กระตุ้นการเรียนรู้

นอกจากนั้นแล้ว เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ ดุษฎี โยเหลาและคณะ (2557) ได้กล่าวถึง บทบาทสำคัญ ของครูในขณะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ว่า ครูจะต้องแสดงบทบาทต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ขึ้น คือครูจะต้องเป็นผู้สังเกต โดยสังเกตการทำงานของนักเรียนและการเล่นของนักเรียน ครูต้องสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ โดยใช้คำถามปลายเปิดกระตุ้นการเรียนรู้แทนการบอกกล่าว ครูต้องศึกษาและรู้จักข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคลเพื่อแสดงบทบาทให้เหมาะสมในการทำให้เกิด Active Learning กับนักเรียนเป็นรายคน ซึ่งบทบาทหรือสิ่งเหล่านี้ที่ครูแสดงออก มีผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน

เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนด้วยการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ บทบาทของครูจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ครูเองจะต้องจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการรายวิชา  โดยใช้แหล่งเรียนรู้ชุมชนและสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ที่เป็นเรื่องใกล้ตัวนักเรียนและมีความเป็นปัจจุบัน ณ ขณะนั้น เช่น Continue reading

การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) ตอนที่ ๑

ความหมาย

vertical-CMK-logo-on-whiteการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน หมายถึง การจัดการเรียนรู้ที่มีครูเป็นผู้กระตุ้นเพื่อนำความสนใจที่เกิดจากตัวนักเรียนมาใช้ในการทำกิจกรรมค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวนักเรียนเอง นำไปสู่การเพิ่มความรู้ที่ได้จากการลงมือปฏิบัติ การฟังและการสังเกตุจากผู้เชี่ยวชาญ  โดยนักเรียนมีการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม ที่จะนำมาสู่การสรุปความรู้ใหม่ มีการเขียนกระบวนการจัดทำโครงงานและได้ผลการจัดกิจกรรมเป็นผลงานแบบรูปธรรม (ดุษฎี โยเหลาและคณะ, 2557: 19-20)

ลักษณะเด่น

การเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่มีผู้ให้ความสนใจมากในปัจจุบัน McDonell (2007) ได้กล่าวว่า การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นรูปแบบหนึ่งของ Child- centered Approach ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ทำงานตามระดับทักษะที่ตนเองมีอยู่ เป็นเรื่องที่สนใจและรู้สึกสบายใจที่จะทำ นักเรียนได้รับสิทธิในการเลือกว่าจะตั้งคำถามอะไร และ Continue reading

การเรียนรู้คืออะไร? Active Learning เป็นอย่างไร?

การเรียนรู้คืออะไร?

learning-concept_23-2147507702มนุษย์เรานั้น มีการเรียนรู้เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากการดำเนินชีวิตในวันหนึ่งๆ เราทุกคนอาจต้องเผชิญสถานการณ์ต่างๆ ที่คล้ายคลึงกับที่เคยประสบการณ์มาแต่ไม่ได้เป็นสถานการณ์ที่ตรงกันเลยทีเดียว มนุษย์จึงได้เรียนรู้ที่จะปรับตัวด้วยการแสดงพฤติกรรมต่างๆ กับสถานการณ์ที่ตนประสบอยู่  เป็นไปได้ยากยิ่งที่ที่เมื่อถามถึงคำจำกัดความของการเรียนรู้ แล้วจะสามารถบอกได้ทันที ว่า การเรียนรู้ คือ อะไร ดังนั้น Continue reading

การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning)

การจัดการเรียนรู้ของครูที่เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning มีเทคนิคการสอน  ที่หลากหลายเพื่อให้เด็กเกิดทักษะต่างๆ ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต เน้นให้เด็กได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงและเรียนรู้จากสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวันเพื่อให้ได้ฝึกทักษะการคิด โดยมีการวางเงื่อนไขและกติกาในการร่วมกิจกรรม ซึ่งกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดขึ้นเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกกระบวนการทำงานกลุ่ม การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ตลอดจน Continue reading