เทคนิคที่ใช้ในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนทางรู้วิชาชีพ (PLC) ตอนที่ ๒ Storytelling

  • เทคนิคการใช้เรื่องเล่า (Storytelling)

005อีกหนึ่งเทคนิคในการใช้สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) ที่สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางสำหรับการสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่ม ผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วม ในครั้งนี้จะนำเสนอสาระสำคัญเกี่ยวกับความหมายของเทคนิคการใช้เรื่องเล่า (What it is) และวิธีการและขั้นตอนการใช้เทคนิคการใช้เรื่องเล่า (How to use it)  ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ความหมายของเทคนิคการใช้เรื่องเล่า (What it is)

การเล่าเรื่อง (Story telling) เป็นวิถีทางในการเก็บข้อมูลที่มีลักษณะเฉพาะ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจประสบการณ์และชีวิตของผู้ให้ข้อมูล ถือว่าเป็นวิธีวิทยาเรื่องเล่า (Narrative Method) ที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาเรื่องของผู้ให้ข้อมูลผ่านวิธีการเล่าเรื่อง ให้ความสำคัญกับเสียงและประสบการณ์ที่ผ่านการเล่าเรื่องโดยผู้ให้ข้อมูล ทำให้ผู้วิจัยทราบและรับรู้ถึงชีวิตของผู้ให้ข้อมูล การเรื่องเล่าจึงเป็นวิถีที่ทำให้เกิดการค้นพบ ค้นหา และ Continue reading

เทคนิคที่ใช้ในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนทางรู้วิชาชีพ (PLC) ตอนที่ ๑ AAR

ในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) นั้นมีเทคนิคสำคัญหลักๆที่สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางสำหรับการสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่มผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วม ดังนี้

  • เทคนิคการทบทวนผลการปฏิบัติงาน (After Action Review)

004ในยุคปัจจุบันที่องค์กรต่างๆ ล้วนให้ความสำคัญกับการจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) และหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในกระบวนการจัดการความรู้ ก็คือ เครื่องมือที่มีชื่อว่า การทบทวนผลการปฏิบัติงาน (After Action Review : AAR) สำหรับส่วนนี้จะนำเสนอสาระสำคัญเกี่ยวกับความหมายของเทคนิค (What it is) และวิธีการขั้นตอนการใช้เทคนิค (How to use it)  ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ Continue reading

PLC คืออะไร? สำคัญอย่างไร?

การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)

002ในยุคปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ในแต่ละชั้นเรียนจะมีนักเรียนที่มีความสามารถที่หลากหลายและแตกต่างกัน ดังพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พุทธศักราช 2545 มาตรา 10 ที่ระบุว่า การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์   สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ  การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสอง ให้จัดให้ตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา นอกจากนี้แล้วในมาตรา 22 ยังระบุถึงหลักการจัดการศึกษาว่า Continue reading